วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติ บันเทิง และเทคโนโลยีของแน้วโน้มโลก

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร
         ด้านกฎหมายและการปกครอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ลงได้ หรือต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาไม่กี่นาที
          ด้านรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุน และการดำเนินบทบาทด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นอย่างมากต่องานรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติบัญญัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาได้มีการปรับปรุงระบบงานใหม่ พร้อมดึงเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการงานสภา ศึกษาวิเคราะห์ระบบงานรัฐสภาทั้งหมดและจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ขึ้นมากำกับดูแลงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลรัฐสภาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2535-2540
ด้านการทหารและกองบัญชาการทหารสูงสุด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ด้านการสื่อสาร และภูมิศาสตร์
  • มีการนำดาวเทียมทหารมาใช้เพื่อกิจการด้านความมั่นคงทางทหาร เพราะสามารถส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะด้านการทหารซึ่งไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้
  • การถ่ายภาพภูมิศาสตร์ จำลองลักษณะภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อความสะดวก ในการจัดทำยุทธภูมิและการวางแผนป้องกันประเทศ

การถ่ายภาพภูมิศาสตร์และใช้เทคโนโลยีหาพิกัดภูมิศาสตร์และจัดเก็บข้อมูล (www.vtt.fi/tte/projects/WAMPPI/results.text.html)
ด้านอาวุธ และอุปกรณ์การรักษาความมั่นคงของประเทศ
  • ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์อาวุธที่ทันสมัย สามารถกำหนดพิกัดการยิงโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทาง และวิถีการตกของระเบิดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
  • ทางด้านการทหารได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับเครื่องตรวจจับ อาวุธสงคราม รวมถึงเครื่องบินที่รุกล้ำเข้ามาใน เขตน่านฟ้าของประเทศไทย
  • มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัย เกี่ยวกับข้อมูลผู้ไม่ประสงค์ดี มาสร้างเป็น แบบจำลองการป้องกันประเทศ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาบันเทิง
ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า (E-cinema) กิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์ บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์

ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคมและหน่วยงานราชการ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม
          การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมที่น่าสนใจ ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
           ดาวเทียม (Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก รอบดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวฤกษ์ต่างๆ หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร (Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ

ตัวอย่างการนำดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในระบบ GPS เพื่อระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ อำนวยความสะดวกด้านโทรคมนาคม (www.aso.com, www.pocketpcmaq.com )
           โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
เนื่องจากระบบ ISDN เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด ตลอดปลายทาง ไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน(Noise) ก็จะลดน้อยลงด้วยทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้อง ไว้วางใจได้สูงกว่าระบบเดิม ความเร็วในการรับส่ง 64 Kbps ต่อวงจร ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ ตัวอักษร ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
          สำหรับการบริการของระบบ ISDN ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นนอกจากการส่งข้อมูลเสียงแล้ว ยังบริการข้อมูลอื่นๆ อีก อาทิ ระบบโทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งสามารถแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ชื่อ ตลอดจนที่อยู่ของผู้ที่เรียกมา และระบบโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลของผู้ที่เรียกเข้ามาได้ นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังช่วยให้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยพร้อมกันหลายๆ สายได้ อีกทั้งมีระบบไปรษณีย์เสียง (voice mail) กล่าวคือ หากผู้ที่โทรเรียกไปพบว่าสายไม่ว่างหรือไม่มีผู้รับก็อาจจะทิ้งข้อความไว้ และเมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบ ข้อความที่ฝากไว้ก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่ผู้นั้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการบริการให้แก่โรงแรมต่างๆ ในการปลุกผู้เข้าพักโดยอัตโนมัติอีกด้วย
โทรสาร (Facsimile) โทรสารหรือแฟ็กซ์ (Fax) เป็นวิวัฒนาการด้านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อส่งผ่านสารสนเทศจากต้นแหล่งไปยังผู้รับปลายทาง โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง ระบบการทำงานของเครื่องโทรสารเป็นกระบวนการที่เครื่องส่งฉายแสงไปที่เอกสาร รูปถ่าย ภาพเขียน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ อันเป็นต้นฉบับ เพื่อเปลี่ยนภาพหรืออักษรเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปตามช่องทางคมนาคมต่างๆ อาทิ ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ เครื่องส่งวิทยุ เมื่อเครื่องรับปลายทางได้รับสัญญาณดังกล่าว ก็จะเปลี่ยนสัญญาณนั้นให้ปรากฏเป็นภาพหรือข้อความตรงตามต้นฉบับ
โทรภาพสาร (Teletext) โทรภาพสารหรือเทเลเท็กซ์เป็นระบบรับ-ส่งสารสนเทศผ่านคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ส่งออกอากาศได้ในเวลาเดียวกันกับที่มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ตามปรกติ สารสนเทศจะถูกส่งออกอากาศเป็นหน้าๆ เหมือนหน้าหนังสือทั่วไป ผู้ชมสามารถใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) เรียกสารสนเทศนั้นออกมาดูได้ตามต้องการ หรือเลือกดูเฉพาะข้อความที่ต้องการและหยุดดูได้นานตามต้องการ ไม่ต้องรอดูตั้งแต่หน้าแรก และยังสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ตามปกติ ผู้ที่มีเครื่องรับธรรมดาจะรับสารสนเทศทางเทเลเท็กซ์ได้ด้วยการติดตั้งแผ่นวงจรพิเศษ กับเครื่องรับโทรทัศน์
           ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกขั้นต้น ในการให้บริการจดหมายทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ แนวความคิดเกี่ยวกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงเรื่อง Broad Spectrum ด้วย กล่าวคือสารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงถูกส่งออกไป ดังนั้น กระบวนการของระบบจึงเป็นลักษณะเดียวกับระบบโทรสาร
          ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลผลลัพธ์จากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจปรากฏในรูปของ Video Terminal, Word Processor, โทรสาร, Data Terminal Computer Vision และระบบการสื่อสารด้วยเสียง การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยข่ายงานโทรคมนาคม ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์ที่มีข้อความสำคัญและประสงค์การส่งอย่างรวดเร็ว อาจกระทำได้โดยส่งผ่านออกไปในรูปแบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านข่ายงานข้อมูลที่เรียกว่า Computerize Switching System
         การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ 2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกัน ผ่านระบบออนไลน์
 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่างๆ
          สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Technology Services - GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน อันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
           สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ซึ่งระบบงานที่สำคัญมีดังนี้คือ
  • ระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร
  • ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย ได้มีการนำเทคโนโลยีลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital signature) เข้ามาช่วยในการยืนยันผู้ส่งและยืนยันความแท้จริงของอีเมล
           อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชน ก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่างๆ
           การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต การแพทย์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมและการผลิต
             โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System-MIS) เข้ามาช่วยจัดการงานด้านการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับ วิดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วน และเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ มีการใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต (เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ) การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์
 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์
            งานด้านสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ระบบบริหารได้นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วย การสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้าหรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ ส่วนด้านให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล ด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
            ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้า ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic) แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้

รูปแสดงตัวอย่างระบบแพทย์ทางไกล
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
         เป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล (One to One) ซึ่งจะสามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้ เช่น ในขณะที่โรงพยาบาลที่ 1 ปรึกษากับโรงพยาบาล ที่ 2 อยู่ โรงพยาบาลที่ 3 สามารถขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลที่ 4 และโรงพยาบาลที่ 5 สามารถขอคำปรึกษาจาก โรงพยาบาลที่ 6 ได้ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 3 ระบบดังนี้คือ
            1) ระบบ Teleradiology เป็นระบบการรับส่งภาพ X-Ray โดยผ่านการ Scan Film จาก High Resolution Scanner เพื่อเก็บลงใน File ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการส่ง File ดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลที่จะให้คำปรึกษา
            2) ระบบ Telecardiology เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
           3) ระบบ Telepathology เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ (Data and Voice Network)
            ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลเป็นระบบการใช้งานเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งเป็นจุดติดตั้งของโครงการฯ มายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถใช้บริการทางด้านเครือข่ายข้อมูลต่างๆ คือระบบ Internet ระบบ CD-ROM Server ระบบ ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนระะบบ CD-ROM Server เป็นระบบที่ให้บริการฐานข้อมูลทางการแพทย์จำนวน 5 ฐานข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูล Medline Standard ฐานข้อมูล Drugs and Pharmacology ฐานข้อมูล Nursing ฐานข้อมูล Health Planning และฐานข้อมูล Excerpta Medica จำนวน 3 modules ได้แก่ Cardiology, Gestro Intestinal, Nephrology

ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาการศึกษา ธุรกิจพาณิชย์และสำนักงาน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-learning)
              เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนจะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน แต่ละส่วนได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ดังนี้
          1) เนื้อหาของบทเรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ
          2) ระบบบริหารการเรียน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management System : LMS) ดังนั้น ระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร
         3) การติดต่อสื่อสาร นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภท Real-time ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mail
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)
            บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบ และการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และหรือ ทั้งภาพและเสียง โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสม ตามความต้องการและความสามารถของตน
วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
            การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books )
             หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต สำหรับเครื่องมือที่จำเป็นต้องมีในการอ่านหนังสือประเภทนี้ก็คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออแกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล E-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน ก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะไฟล์ของ E-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง E-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
บริการงานห้องสมุดระบบอัตโนมัติ เช่น
      1) ระบบที่สามารถให้บริการและตรวจสอบได้
      2) ระบบบริการยืม - คืน ทรัพยากรด้วยแถบรหัสบาร์โค้ด
      3) ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร
      4) ระบบตรวจเช็คสถิติการใช้บริการห้องสมุด
      5) ระบบตรวจเช็คสถิติการยืม - คืนทรัพยากร
      6) การสำรวจทรัพยากรประจำปี
      7) การพิมพ์บาร์โค้ดทรัพยากรและสมาชิก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน
E-commerce: Electronic Commerce
            E-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลัก ในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล ใน E-commerce สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเรา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิลทีวี เครื่องโทรสาร โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่อง ATM ระบบการชำระเงินและโอนเงินอัตโนมัติ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-business
            E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
            การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ - ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร

  • ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
  • เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
  • ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
  • แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
ระบบสำนักงานอัตโนมัต
              ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
รูปแสดงการประชุมทางไกล
ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์ค้นหาที่ได้รับความนิยมและการใช้ Search Engines

เว็บไซต์ค้นหาที่ได้รับความนิยมและการใช้  Search  Engines
              การพิมพ์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เชื่อกันว่าข้อมูลข่าวสารจัดพิมพ์      ในรูป Web หรือโฮมเพ็จเพื่อเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต มีมากกว่า 1000 ล้านหน้า (1000 หน้า URL reference)
เมื่อข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเช่นนี้ ทำให้ระบบการค้นหาเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งขึ้น เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการเครื่องมือในการค้นหา จึงมีผู้พัฒนาระบบค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Search Engine และสร้างสถานีบริการไว้บนอินเทอร์เน็ต
สถานีบริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่รู้จักกันดีมีหลายแห่ง เช่น yahoo.com, altavista.com excite.com, webcrawler.com เป็นต้น สถานีบริการเหล่านี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวาง โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนรู้จักกันดี
แต่หากพิจารณาข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตกว่าหนึ่งพันล้านหน้า ระบบการค้นหาที่ให้บริการอยู่นี้ยังไม่สามารถเก็บดัชนีค้นหาและให้การค้นหาได้ครบทุกแห่ง จากการประมาณการของสถานีค้นหาที่ใหญ่ที่สุด เช่น yahoo.com หรือ altavista.com จะค้นหาข้อมูลได้ไม่ถึงครึ่งของเอกสารที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
         หากนำข้อมูลของหนังสือทุกเล่มจากห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันมาเก็บรวมกันในรูปดิจิตอล มีผู้คำนวณดูว่าถ้าจะเก็บในรูป ASCII จะได้ประมาณ 20 เทราไบต์ (โดยมีหนังสือในห้องสมุดประมาณ 20 ล้านเล่ม) และข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่เรียกดูได้ทั้งหมดจะรวมกัน น่าจะอยู่ที่ประมาณ 14 เทราไบต์ อัตราการเพิ่มของข้อมูลที่มีมากกว่า 20 เปอร์เซนต์ต่อปี ดังนั้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อมูลที่เก็บในอินเทอร์เน็ตที่เรียกดูได้แบบสาธารณะน่าจะมีมากกว่า 100 เทราไบต์
หลักการของเครื่องค้นหาที่สำคัญคือโปรแกรมหุ่นยนต์ ที่จะทำงานอัตโนมัติ และวิ่งเข้าไปซอกแซกในอินเทอร์เน็ต พร้อมคัดลอกข้อมูลมาจัดทำดัชนี และจัดโครงสร้างไว้ในฐานข้อมูลเพื่อจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้เรียกค้นดูได้ โปรแกรมหุ่นยนต์นี้จะต้องทำงานเป็นระยะและวนกลับมาปรังปรุงข้อมูลใหม่ เพราะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ที่สำคัญคือข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายภาษา จีน ไทย ฝรั่ง พม่า ลาว โปรแกรมค้นหาจะชาญฉลาดจัดทำดัชนีเหล่านี้ได้หมดหรือ? เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าคิด
       โดยเฉพาะเรื่องภาษาไทย ที่เอกสารเขียนติดกัน คำหลักที่ใช้ค้นหาเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องศึกษาวิจัย เชื่อแน่ว่าโปรแกรมหุ่นยนต์ของฝรั่งที่พัฒนาขึ้นก็ยากที่จะเข้าใจภาษาไทยได้ดี
             เมื่อเป็นเช่นนี้ทีมงานภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ดำเนินการทำการวิจัยและพัฒนาสร้าง Nontri Search ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อคนไทยและจะทำให้รู้ใจคนไทยได้มากยิ่งขึ้น
การทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวโปรแกรมหุ่นยนต์ ที่จะเสาะแสวงหาที่อยู่ของเว็บเพ็จต่าง ๆ ปัจจุบันเน้นเฉพาะเว็บเพ็จที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก โดยศึกษาวิเคราะห์จากโครงสร้างไอพีแอดเดรสและข้อมูลจากเนมเซิร์ฟเวอร์ ที่มีการจดทะเบียนใช้งานในเมืองไทย หุ่นยนต์จะลองทำการวิ่งเข้าหาเครื่องแต่ละเครื่องเพื่อคัดลอกข้อมูลมา จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำดัชนีค้นหาไว้
            สิ่งที่ Nontri Search ทำได้ในขณะนี้คือ จะวิ่งค้นหาเป็นรอบ ๆ เพื่อปรับปรุงข้อมูลและดูว่าข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพื่อปรับปรุงดัชนีให้ทันสมัย แทบไม่น่าเชื่อว่า ปัจจุบันภายในประเทศไทย มีข้อมูลเกือบหกแสนหน้า (ยูอาร์แอล) การจัดทำดัชนีจะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งปัจจุบันในเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่เครื่องหนึ่งรองรับฐานข้อมูลนี้
การจัดทำดัชนีและจุดอ้างอิงยูอาร์แอล เมื่อผู้ใช้เรียกถาม Nontri Search ก็จะเรียกค้นจากฐานข้อมูลแล้วนำมาแสดงให้ การจัดทำดัชนีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะมีเรื่องราวที่จะต้องปรับแต่งและวิจัยหาความเหมาะสมได้อีกมาก
การพัฒนาระบบค้นหาข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับอนาคต เพราะลองนึกดูว่า ถ้าเต้ องการให้ค้นหาข้อมูลทั้งหมดในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีกว่าพันล้านยูอาร์แอล มีความจุกว่า 14 เทราไบต์ ระบบการค้นหาและทำดัชนีจะเป็นระบบที่ซับซ้อนพอดู เพราะต้องให้บริการได้เร็ว  งานวิจัย Nontri Search จึงเป็นผลงานที่ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำขึ้นเพื่อประชาคมอินเทอร์เน็ตที่เป็นคนไทย งานพัฒนานี้จะต้องกระทำต่อไป
ที่มา:http://www.ku.ac.th/magazine_online/search_engine.html




เทคนิคและการใช้โปรแกรมเบาวเซอร์ค้นหาข้อมูล

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้ Search Engine
  1. อย่าค้นหาด้วย Search Engine เดียวเพราะว่าไม่มี Search Engine ใดที่จะมีฐานข้อมูลของทุกเว็บไซต์ทั่วโลก ดังนั้นถ้าค้นไม่เจอข้อมูลที่ต้องการให้ลองไปค้นหาที่ Search Engine อื่น [1]
  2. อ่านวิธีการค้นหา เพราะว่า Search Engine แต่ละตัวจะมีวิธีการค้นหาไม่เหมือนกันยิ่งเป็นการค้นหาแบบเฉพาะทางหรือแบบที่มีคำสั่งพิเศษด้วยแล้ว ถ้าสามารถอ่านวิธีการค้นหาได้ก็จะสามารถช่วยค้นหาได้เร็วขึ้นและได้ผลตามประสงค์ [1]
  3. ค้นหาด้วยคำเฉพาะ เพราะยิ่งใช้คำเฉพาะสำหรับค้นหาเท่าไร ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะตรงตามเป้าหมายเท่านั้น เช่น แทนที่จะค้นเว็บไซต์สุนัขด้วยคำว่า dog ก็ให้ใส่พันธุ์ของสุนัขที่ต้องการลงไปด้วยอย่าง puddle dog หรือ boxer dog จะทำให้สามารถค้นหาได้ง่ายกว่า [1]
  4. ใช้คำทั่ว ๆ ไปค้นหา ถ้าค้นหาด้วยคำเฉพาะแล้วไม่มีผลการค้นหา เพราะคำเฉพาะบางคำที่เฉพาะเกินไปอาจจะไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลก็ได้ [1]
  5. ใช้คำสั่ง Boolean ช่วยในการค้นหาถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์ด้วยการใช้คำหลาย ๆ คำผสมกันไป หรือเมื่อไม่ต้องการให้คำใดเข้ามาเกี่ยวข้องในการค้นหาก็สามารถกำหนดได้เช่นกัน [1]
  6. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "AND"
    รูปแบบการใช้งาน : A and B โดย A , B เป็น คำหลัก (Keywords)
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "and" ก็ต่อเมื่อ ต้องการให้ปรากฏคำหลัก A และ B ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน หมายถึง การค้นหาคำหลักที่มีทั้ง A และ B
    Example 1: พิมพ์ ไทย and จีน ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข จะหมายถึง ค้นหาคำว่า ไทย และ จีน โดยผลลัพธ์จากการค้นหา จะปรากฏคำว่า "ไทย" และ "จีน" อยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
  7. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "OR"
    รูปแบบการใช้งาน : A or B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "or" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหาคำหลัก A หรือ B โดยผลลัพธ์จากการค้นหาจะต้องปรากฏคำหลัก A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ
    Example 2: พิมพ์ กีฬา or ดนตรี ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข Super Search จะค้นหาข้อมูลที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" หรือ "ดนตรี" ในหน้าเว็บเพจ
  8. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NOT"
    รูปแบบการใช้งาน : A not B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "not" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหา A แต่ไม่ต้องการให้ปรากฏ B อยู่ในหน้าเว็บเพจ
    Example 3: พิมพ์ กีฬา not ฟุตบอล จะหมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "ฟุตบอล"
  9. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NEAR"
    รูปแบบการใช้งาน : A near B
    อธิบาย : หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องปรากฏทั้ง A และ B และทั้งสองคำนี้จะต้องปรากฏอยู่ใกล้ๆกัน รูปแบบการค้นหาแบบนี้จะคล้ายกับการใช้เงื่อนไข "AND" แต่ต่างกันเพียง คำทั้งสองจะต้องปรากฏอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 คำ ซึ่งเราจะเห็นว่าการใช้เงื่อนไข NEAR จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้เงื่อนไข "AND" ในกรณีที่คำทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกัน โดยคาดหวังว่าคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น
  10. การค้นหาโดยใช้เครื่องหมายวงเล็บ "(   )"
    รูปแบบการใช้งาน : (A * B) โดย A และ B เป็นคำที่ต้องการค้นหา และ สัญญลักษณ์ * แทนเงื่อนไข and , or ,not และ near
    อธิบาย : การใช้เครื่องหมายวงเล็บคร่อมข้อความที่เป็นเงื่อนไข หมายถึง การเจาะจงให้ประมวลผลข้อความที่อยู่ภายในวงเล็บก่อน
    Example 5: พิมพ์ (การเมือง or เศรษฐกิจ) near รัฐสภา หมายถึง การสั่งให้ค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "การเมือง" หรือ "เศรษฐกิจ" และ จะต้องปรากฏอยู่ใกล้เคียงกับคำว่า "รัฐสภา" ด้วย
     
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเครื่องจักรค้นหา Search Engine ได้แก่ 
1.      www.altavista.com เครื่องจักรค้นหายอดนิยม อันดับต้น ๆ
2.  www.infoseek.com เว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลที่มีรายละเอียดของเว็บต่าง ๆ ถึง 30ล้านเว็บไซต์
3. www.Excite.com การหาข้อมูลข้อความที่หาความสัมพันธ์กับกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4.  www.lycos.com เครื่องจักรค้นหาที่ได้รับความนิยมเท่ากับ yahoo.com
5. www.hotbot.com เว็บไซต์ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่
6.  www.thaiseek.com เครื่องจักรค้นหาและรวมไดเร็คทรอรี่ของไทย
7.  www.madoo.com/search/ เว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์ที่เป็น Search engine เอาไว้
 8. www.siamguru.com เว็บไซต์ใหม่ที่กำลังมาแรง ในการค้นหาแบบ เครื่องจักรค้นห
 9. www.asialycos.co.th เว็บไซต์เครื่องจักรค้นหา ที่ทำเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ
 10.  http://www.msn.com  เว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์ที่เป็น Search engine เอาไว้

ความหมายและประเภทของเครื่องจักร

ความหมายของ Search Engine
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
    เครื่องจักรค้นหา  (Search Engine) คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search  Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา Search Engine โดยทั่วไปมี 3 ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และการจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกัน เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกัน ทำให้โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน

                 ประเภทของ Search Engine         
                1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึง อ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษาคำสั่งในการสร้างเว็บเพจ (ภาษา HTML) หรือเรียก TAG ซึ่งอยู่ในรูปแบบ และข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้ จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางทางกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ไม่เลว 
               2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล ของการ Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการ พินิจวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้ จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคน ว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร
                  ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูก จัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ เด็ก Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับเด็กล้วน ๆ มาให้คุณ
               3. Metasearch Engines จุดเด่นของการ Search Engine ด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่น ๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การ search ด้วยวิธีนี้ มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะ ไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language ( ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

แหล่งที่มา  
      http://dekhongone.spaces.live.com
     http://raktukkonnaka.spaces.live.com     
     http://cidb3902f3223123aa7.spaces.live.com