การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
ข้อมูลและบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากมายและหลายหลากประเภท ทำให้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับงานในด้านต่างๆ มากมาย จึงขอยก ตัวอย่างการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตพอสังเขป ดังนี้
ด้านการศึกษา
อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว มีแหล่งข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาลที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และอื่นๆ ทำให้นักเรียน ครูอาจารย์ รวมถึงผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า หรือการทำงานได้ ในส่วนระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้อินเทอร์เน็ต ก็ทำให้ผู้เรียนหรือผู้สอนที่อยู่ห่างไกลกัน ไม่จำเป็นต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสถานที่เดียวกัน ผู้สอนและผู้เรียน สามารถอยู่คนละสถานที่ ก็ยังสามารถทำการเรียนการสอนได้ เช่น การเรียนการสอนผ่านเวบ หรือ E-Learning เป็นอีกหนึ่งกระแสของการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังมาแรงในปัจจุบันนี้, ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ได้รับความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา มีเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ มากมายสำหรับนักเรียนและอาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ธุรกิจการค้า
ปัจจุบันมีการให้บริการ โฆษณาสินค้าบริการและการซื้อขายสินค้าบริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า E-Commerce ซึ่งระบบนี้ผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ แล้วทำการสั่งซื้อ พร้อมทั้งชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยหักจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตได้ทันที นอกจากนี้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ก็สามารถเปิดให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และประกาศข่าวสารใหม่ๆ หรือกรณีที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ก็อาจแจกจ่ายโปรแกรมให้ทดลองใช้ หรือให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ (patch) แม้กระทั่งซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้โดยตรงอีกด้วย
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->การเงินการธนาคาร
ธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) หมายถึง ธนาคารที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบางธนาคารก็มีบริการที่มีชื่อคล้ายคลึงกันแต่ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Banking หรือ E-Banking ซึ่งหมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยสื่อที่นิยมใช้ได้แก่อินเทอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าบริการทั้งสองรูปแบบต่างก็มีการให้บริการต่างๆ ของธนาคารที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบยอดบัญชี การโอนเงิน การสั่งชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
สำหรับการระบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการแบบออนไลน์ ก็อีกบริการซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแส ความแรงของการทำ E-Commerce ทั่วโลก ที่มีความต้องการองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือ อันได้แก่ธนาคาร เข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการชำระเงินแบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ด้วยระบบนี้ทำให้ลูกค้าเกิดความสะดวกและรวดเร็วในการใช้บริการเป็นอย่างมาก
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->ความบันเทิง
สิ่งที่ดึงดูดใจแก่ผู้งานอินเทอร์เน็ตทุกเพศ ทุกวัย มากที่สุด ก็คือ ความสาระบันเทิงที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การอ่านข่าวสารจากวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมตัวอย่างภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้อีกด้วย การค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการต่างๆ ก็ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้เช่นกัน รวมทั้งการสนทนาพูดคุยระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางเวบบอร์ดต่างๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
แหล่งที่มา : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1460805
ชื่อและหมายเลขประจำเครื่องในเครือข่าย
IP Address คือ หมาย เลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น กำหนดให้ IP address (เป็นหมายเลข 3 หลัก 4 กลุ่ม) มีทั้งหมด 32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ระบบหมายเลขประจำเครื่องมีข้อบกพร่อง คือ จำยากและไม่ได้สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ทราบ ดังนั้น จึงมีการใช้ระบบชื่อของเครื่อง (Domain Name System : DNS) ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนหมายเลข IP Address มาเป็นชื่อที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจกัน เช่น Moe.go.th / udru.ac.th / microsoft.com
Domain Name System : DNS การเชื่อมต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ในระบบ internet นั้นใช้มาตรฐาน TCP/ IP ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน ซึ่งใช้ เวลาติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยจะอ้างถึงหมายเลขประจำตัวเครื่องปลายทางที่เราติดต่อได้ทันที โดยปกติเครื่อง Web Server จะมี IP Address ทั้งนี้เกิดปัญหาในการจำ เพราะว่า IP Address มีตัวเลขถึง 12 ตัว จากจุดนี้เลยได้มีการคิดที่จะแปลง IP Address ให้เป็นชื่อที่จำได้ง่าย Domain Name System จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อใช้ชื่อแทนที่หมายเลข IP ฉะนั้น DNS คือระบบการแปลงค่าระหว่าง IP Address และชื่อเครื่อง(Host) เช่น IP Address "172.5.0.1" เรียกเป็น "www.udru.ac.th" (เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี) การกำหนดชื่อใน DNS จะเรียงลำดับความสำคัญจากขวาไปซ้าย โดยมีจุดคั่น เช่น Udru.ac.th จะอ่านได้ว่า th มาจากประเทศไทย, ac หน่วยงานการศึกษา, udru ชื่อหน่วยงานในที่นี้คือ มรภ.อุดรธานี
รูปแบบชื่อโดเมน มี 3 รูปแบบใหญ่ ๆ
1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain ชื่อทางด้านขวาสุดแบ่งย่อยเป็น 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains : gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันโดยเฉพาะในอเมริกาซึ่งลงท้ายด้วย .com .net .org .biz .info เป็นต้น
- รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ(Country Code top Level Domains : ccTLDs) บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมนหรือที่ตั้งโดเมนมักใช้กับประเทศอื่นยกเว้นอเมริกา เช่น .th ประเทศไทย, .jp ประเทศญี่ปุ่น, .uk ประเทศอังกฤษ เป็นต้น
.au = Australia .
sg = Singapore
.th = Thailand
.tw = Taiwan
.uk = United Kingdom
.jp = Japan
2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็นชื่อถัดมาลำดับที่ 2 จะเป็นลักษณะการดำเนินงานขององค์กร แบ่งเป็น 2 ส่วน
- ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรในประเทศไทย เช่น
.co = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
.ac = Academic หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
.go = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
.or = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.mi = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
.net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร
.in = Individual เว็บไซต์ส่วนบุคคล
- ลักษณะการดำเนินงานขององค์กร ยกเว้นประเทศไทย เช่น
.com = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
.edu = Education หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
.gov = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
.org = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.mil = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
.net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร
3. โดเมนขั้นที่สาม - Third Level Domain เป็นลำดับที่ 3 นับจากด้านขวามือ เป็นชื่อที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถจดจำได้เช่น
udru = มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Microsoft = บริษัทไมโครซอฟต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น