วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคมและหน่วยงานราชการ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม
          การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมที่น่าสนใจ ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
           ดาวเทียม (Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก รอบดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวฤกษ์ต่างๆ หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร (Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ

ตัวอย่างการนำดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในระบบ GPS เพื่อระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ อำนวยความสะดวกด้านโทรคมนาคม (www.aso.com, www.pocketpcmaq.com )
           โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
เนื่องจากระบบ ISDN เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด ตลอดปลายทาง ไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน(Noise) ก็จะลดน้อยลงด้วยทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้อง ไว้วางใจได้สูงกว่าระบบเดิม ความเร็วในการรับส่ง 64 Kbps ต่อวงจร ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ ตัวอักษร ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
          สำหรับการบริการของระบบ ISDN ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นนอกจากการส่งข้อมูลเสียงแล้ว ยังบริการข้อมูลอื่นๆ อีก อาทิ ระบบโทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งสามารถแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ชื่อ ตลอดจนที่อยู่ของผู้ที่เรียกมา และระบบโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลของผู้ที่เรียกเข้ามาได้ นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังช่วยให้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยพร้อมกันหลายๆ สายได้ อีกทั้งมีระบบไปรษณีย์เสียง (voice mail) กล่าวคือ หากผู้ที่โทรเรียกไปพบว่าสายไม่ว่างหรือไม่มีผู้รับก็อาจจะทิ้งข้อความไว้ และเมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบ ข้อความที่ฝากไว้ก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่ผู้นั้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการบริการให้แก่โรงแรมต่างๆ ในการปลุกผู้เข้าพักโดยอัตโนมัติอีกด้วย
โทรสาร (Facsimile) โทรสารหรือแฟ็กซ์ (Fax) เป็นวิวัฒนาการด้านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อส่งผ่านสารสนเทศจากต้นแหล่งไปยังผู้รับปลายทาง โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง ระบบการทำงานของเครื่องโทรสารเป็นกระบวนการที่เครื่องส่งฉายแสงไปที่เอกสาร รูปถ่าย ภาพเขียน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ อันเป็นต้นฉบับ เพื่อเปลี่ยนภาพหรืออักษรเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปตามช่องทางคมนาคมต่างๆ อาทิ ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ เครื่องส่งวิทยุ เมื่อเครื่องรับปลายทางได้รับสัญญาณดังกล่าว ก็จะเปลี่ยนสัญญาณนั้นให้ปรากฏเป็นภาพหรือข้อความตรงตามต้นฉบับ
โทรภาพสาร (Teletext) โทรภาพสารหรือเทเลเท็กซ์เป็นระบบรับ-ส่งสารสนเทศผ่านคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ส่งออกอากาศได้ในเวลาเดียวกันกับที่มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ตามปรกติ สารสนเทศจะถูกส่งออกอากาศเป็นหน้าๆ เหมือนหน้าหนังสือทั่วไป ผู้ชมสามารถใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) เรียกสารสนเทศนั้นออกมาดูได้ตามต้องการ หรือเลือกดูเฉพาะข้อความที่ต้องการและหยุดดูได้นานตามต้องการ ไม่ต้องรอดูตั้งแต่หน้าแรก และยังสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ตามปกติ ผู้ที่มีเครื่องรับธรรมดาจะรับสารสนเทศทางเทเลเท็กซ์ได้ด้วยการติดตั้งแผ่นวงจรพิเศษ กับเครื่องรับโทรทัศน์
           ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกขั้นต้น ในการให้บริการจดหมายทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ แนวความคิดเกี่ยวกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงเรื่อง Broad Spectrum ด้วย กล่าวคือสารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงถูกส่งออกไป ดังนั้น กระบวนการของระบบจึงเป็นลักษณะเดียวกับระบบโทรสาร
          ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลผลลัพธ์จากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจปรากฏในรูปของ Video Terminal, Word Processor, โทรสาร, Data Terminal Computer Vision และระบบการสื่อสารด้วยเสียง การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยข่ายงานโทรคมนาคม ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์ที่มีข้อความสำคัญและประสงค์การส่งอย่างรวดเร็ว อาจกระทำได้โดยส่งผ่านออกไปในรูปแบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านข่ายงานข้อมูลที่เรียกว่า Computerize Switching System
         การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ 2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกัน ผ่านระบบออนไลน์
 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่างๆ
          สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Technology Services - GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน อันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
           สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ซึ่งระบบงานที่สำคัญมีดังนี้คือ
  • ระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร
  • ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย ได้มีการนำเทคโนโลยีลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital signature) เข้ามาช่วยในการยืนยันผู้ส่งและยืนยันความแท้จริงของอีเมล
           อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชน ก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่างๆ
           การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น