วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติ บันเทิง และเทคโนโลยีของแน้วโน้มโลก

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร
         ด้านกฎหมายและการปกครอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ลงได้ หรือต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาไม่กี่นาที
          ด้านรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุน และการดำเนินบทบาทด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นอย่างมากต่องานรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติบัญญัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาได้มีการปรับปรุงระบบงานใหม่ พร้อมดึงเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการงานสภา ศึกษาวิเคราะห์ระบบงานรัฐสภาทั้งหมดและจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ขึ้นมากำกับดูแลงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลรัฐสภาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2535-2540
ด้านการทหารและกองบัญชาการทหารสูงสุด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ด้านการสื่อสาร และภูมิศาสตร์
  • มีการนำดาวเทียมทหารมาใช้เพื่อกิจการด้านความมั่นคงทางทหาร เพราะสามารถส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะด้านการทหารซึ่งไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้
  • การถ่ายภาพภูมิศาสตร์ จำลองลักษณะภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อความสะดวก ในการจัดทำยุทธภูมิและการวางแผนป้องกันประเทศ

การถ่ายภาพภูมิศาสตร์และใช้เทคโนโลยีหาพิกัดภูมิศาสตร์และจัดเก็บข้อมูล (www.vtt.fi/tte/projects/WAMPPI/results.text.html)
ด้านอาวุธ และอุปกรณ์การรักษาความมั่นคงของประเทศ
  • ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์อาวุธที่ทันสมัย สามารถกำหนดพิกัดการยิงโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทาง และวิถีการตกของระเบิดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
  • ทางด้านการทหารได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับเครื่องตรวจจับ อาวุธสงคราม รวมถึงเครื่องบินที่รุกล้ำเข้ามาใน เขตน่านฟ้าของประเทศไทย
  • มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัย เกี่ยวกับข้อมูลผู้ไม่ประสงค์ดี มาสร้างเป็น แบบจำลองการป้องกันประเทศ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาบันเทิง
ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า (E-cinema) กิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์ บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์

ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคมและหน่วยงานราชการ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม
          การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมที่น่าสนใจ ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
           ดาวเทียม (Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก รอบดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวฤกษ์ต่างๆ หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร (Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ

ตัวอย่างการนำดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในระบบ GPS เพื่อระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ อำนวยความสะดวกด้านโทรคมนาคม (www.aso.com, www.pocketpcmaq.com )
           โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
เนื่องจากระบบ ISDN เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด ตลอดปลายทาง ไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน(Noise) ก็จะลดน้อยลงด้วยทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้อง ไว้วางใจได้สูงกว่าระบบเดิม ความเร็วในการรับส่ง 64 Kbps ต่อวงจร ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ ตัวอักษร ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
          สำหรับการบริการของระบบ ISDN ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นนอกจากการส่งข้อมูลเสียงแล้ว ยังบริการข้อมูลอื่นๆ อีก อาทิ ระบบโทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งสามารถแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ชื่อ ตลอดจนที่อยู่ของผู้ที่เรียกมา และระบบโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลของผู้ที่เรียกเข้ามาได้ นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังช่วยให้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยพร้อมกันหลายๆ สายได้ อีกทั้งมีระบบไปรษณีย์เสียง (voice mail) กล่าวคือ หากผู้ที่โทรเรียกไปพบว่าสายไม่ว่างหรือไม่มีผู้รับก็อาจจะทิ้งข้อความไว้ และเมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบ ข้อความที่ฝากไว้ก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่ผู้นั้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการบริการให้แก่โรงแรมต่างๆ ในการปลุกผู้เข้าพักโดยอัตโนมัติอีกด้วย
โทรสาร (Facsimile) โทรสารหรือแฟ็กซ์ (Fax) เป็นวิวัฒนาการด้านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อส่งผ่านสารสนเทศจากต้นแหล่งไปยังผู้รับปลายทาง โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง ระบบการทำงานของเครื่องโทรสารเป็นกระบวนการที่เครื่องส่งฉายแสงไปที่เอกสาร รูปถ่าย ภาพเขียน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ อันเป็นต้นฉบับ เพื่อเปลี่ยนภาพหรืออักษรเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปตามช่องทางคมนาคมต่างๆ อาทิ ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ เครื่องส่งวิทยุ เมื่อเครื่องรับปลายทางได้รับสัญญาณดังกล่าว ก็จะเปลี่ยนสัญญาณนั้นให้ปรากฏเป็นภาพหรือข้อความตรงตามต้นฉบับ
โทรภาพสาร (Teletext) โทรภาพสารหรือเทเลเท็กซ์เป็นระบบรับ-ส่งสารสนเทศผ่านคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ส่งออกอากาศได้ในเวลาเดียวกันกับที่มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ตามปรกติ สารสนเทศจะถูกส่งออกอากาศเป็นหน้าๆ เหมือนหน้าหนังสือทั่วไป ผู้ชมสามารถใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) เรียกสารสนเทศนั้นออกมาดูได้ตามต้องการ หรือเลือกดูเฉพาะข้อความที่ต้องการและหยุดดูได้นานตามต้องการ ไม่ต้องรอดูตั้งแต่หน้าแรก และยังสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ตามปกติ ผู้ที่มีเครื่องรับธรรมดาจะรับสารสนเทศทางเทเลเท็กซ์ได้ด้วยการติดตั้งแผ่นวงจรพิเศษ กับเครื่องรับโทรทัศน์
           ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกขั้นต้น ในการให้บริการจดหมายทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ แนวความคิดเกี่ยวกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงเรื่อง Broad Spectrum ด้วย กล่าวคือสารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงถูกส่งออกไป ดังนั้น กระบวนการของระบบจึงเป็นลักษณะเดียวกับระบบโทรสาร
          ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลผลลัพธ์จากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจปรากฏในรูปของ Video Terminal, Word Processor, โทรสาร, Data Terminal Computer Vision และระบบการสื่อสารด้วยเสียง การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยข่ายงานโทรคมนาคม ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์ที่มีข้อความสำคัญและประสงค์การส่งอย่างรวดเร็ว อาจกระทำได้โดยส่งผ่านออกไปในรูปแบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านข่ายงานข้อมูลที่เรียกว่า Computerize Switching System
         การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ 2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกัน ผ่านระบบออนไลน์
 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่างๆ
          สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Technology Services - GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน อันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
           สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ซึ่งระบบงานที่สำคัญมีดังนี้คือ
  • ระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร
  • ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย ได้มีการนำเทคโนโลยีลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital signature) เข้ามาช่วยในการยืนยันผู้ส่งและยืนยันความแท้จริงของอีเมล
           อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชน ก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่างๆ
           การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต การแพทย์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมและการผลิต
             โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System-MIS) เข้ามาช่วยจัดการงานด้านการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับ วิดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วน และเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ มีการใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต (เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ) การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์
 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์
            งานด้านสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ระบบบริหารได้นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วย การสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้าหรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ ส่วนด้านให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล ด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
            ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้า ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic) แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้

รูปแสดงตัวอย่างระบบแพทย์ทางไกล
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
         เป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล (One to One) ซึ่งจะสามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้ เช่น ในขณะที่โรงพยาบาลที่ 1 ปรึกษากับโรงพยาบาล ที่ 2 อยู่ โรงพยาบาลที่ 3 สามารถขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลที่ 4 และโรงพยาบาลที่ 5 สามารถขอคำปรึกษาจาก โรงพยาบาลที่ 6 ได้ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 3 ระบบดังนี้คือ
            1) ระบบ Teleradiology เป็นระบบการรับส่งภาพ X-Ray โดยผ่านการ Scan Film จาก High Resolution Scanner เพื่อเก็บลงใน File ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการส่ง File ดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลที่จะให้คำปรึกษา
            2) ระบบ Telecardiology เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
           3) ระบบ Telepathology เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ (Data and Voice Network)
            ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลเป็นระบบการใช้งานเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งเป็นจุดติดตั้งของโครงการฯ มายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถใช้บริการทางด้านเครือข่ายข้อมูลต่างๆ คือระบบ Internet ระบบ CD-ROM Server ระบบ ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนระะบบ CD-ROM Server เป็นระบบที่ให้บริการฐานข้อมูลทางการแพทย์จำนวน 5 ฐานข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูล Medline Standard ฐานข้อมูล Drugs and Pharmacology ฐานข้อมูล Nursing ฐานข้อมูล Health Planning และฐานข้อมูล Excerpta Medica จำนวน 3 modules ได้แก่ Cardiology, Gestro Intestinal, Nephrology

ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาการศึกษา ธุรกิจพาณิชย์และสำนักงาน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-learning)
              เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนจะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน แต่ละส่วนได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ดังนี้
          1) เนื้อหาของบทเรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ
          2) ระบบบริหารการเรียน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management System : LMS) ดังนั้น ระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร
         3) การติดต่อสื่อสาร นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภท Real-time ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mail
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)
            บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบ และการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และหรือ ทั้งภาพและเสียง โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสม ตามความต้องการและความสามารถของตน
วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
            การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books )
             หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต สำหรับเครื่องมือที่จำเป็นต้องมีในการอ่านหนังสือประเภทนี้ก็คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออแกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล E-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน ก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะไฟล์ของ E-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง E-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
บริการงานห้องสมุดระบบอัตโนมัติ เช่น
      1) ระบบที่สามารถให้บริการและตรวจสอบได้
      2) ระบบบริการยืม - คืน ทรัพยากรด้วยแถบรหัสบาร์โค้ด
      3) ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร
      4) ระบบตรวจเช็คสถิติการใช้บริการห้องสมุด
      5) ระบบตรวจเช็คสถิติการยืม - คืนทรัพยากร
      6) การสำรวจทรัพยากรประจำปี
      7) การพิมพ์บาร์โค้ดทรัพยากรและสมาชิก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน
E-commerce: Electronic Commerce
            E-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลัก ในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล ใน E-commerce สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเรา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิลทีวี เครื่องโทรสาร โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่อง ATM ระบบการชำระเงินและโอนเงินอัตโนมัติ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-business
            E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
            การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ - ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร

  • ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
  • เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
  • ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
  • แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
ระบบสำนักงานอัตโนมัต
              ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
รูปแสดงการประชุมทางไกล
ที่มา http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์ค้นหาที่ได้รับความนิยมและการใช้ Search Engines

เว็บไซต์ค้นหาที่ได้รับความนิยมและการใช้  Search  Engines
              การพิมพ์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เชื่อกันว่าข้อมูลข่าวสารจัดพิมพ์      ในรูป Web หรือโฮมเพ็จเพื่อเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต มีมากกว่า 1000 ล้านหน้า (1000 หน้า URL reference)
เมื่อข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเช่นนี้ ทำให้ระบบการค้นหาเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งขึ้น เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการเครื่องมือในการค้นหา จึงมีผู้พัฒนาระบบค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Search Engine และสร้างสถานีบริการไว้บนอินเทอร์เน็ต
สถานีบริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่รู้จักกันดีมีหลายแห่ง เช่น yahoo.com, altavista.com excite.com, webcrawler.com เป็นต้น สถานีบริการเหล่านี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวาง โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนรู้จักกันดี
แต่หากพิจารณาข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตกว่าหนึ่งพันล้านหน้า ระบบการค้นหาที่ให้บริการอยู่นี้ยังไม่สามารถเก็บดัชนีค้นหาและให้การค้นหาได้ครบทุกแห่ง จากการประมาณการของสถานีค้นหาที่ใหญ่ที่สุด เช่น yahoo.com หรือ altavista.com จะค้นหาข้อมูลได้ไม่ถึงครึ่งของเอกสารที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
         หากนำข้อมูลของหนังสือทุกเล่มจากห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันมาเก็บรวมกันในรูปดิจิตอล มีผู้คำนวณดูว่าถ้าจะเก็บในรูป ASCII จะได้ประมาณ 20 เทราไบต์ (โดยมีหนังสือในห้องสมุดประมาณ 20 ล้านเล่ม) และข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่เรียกดูได้ทั้งหมดจะรวมกัน น่าจะอยู่ที่ประมาณ 14 เทราไบต์ อัตราการเพิ่มของข้อมูลที่มีมากกว่า 20 เปอร์เซนต์ต่อปี ดังนั้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อมูลที่เก็บในอินเทอร์เน็ตที่เรียกดูได้แบบสาธารณะน่าจะมีมากกว่า 100 เทราไบต์
หลักการของเครื่องค้นหาที่สำคัญคือโปรแกรมหุ่นยนต์ ที่จะทำงานอัตโนมัติ และวิ่งเข้าไปซอกแซกในอินเทอร์เน็ต พร้อมคัดลอกข้อมูลมาจัดทำดัชนี และจัดโครงสร้างไว้ในฐานข้อมูลเพื่อจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้เรียกค้นดูได้ โปรแกรมหุ่นยนต์นี้จะต้องทำงานเป็นระยะและวนกลับมาปรังปรุงข้อมูลใหม่ เพราะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ที่สำคัญคือข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายภาษา จีน ไทย ฝรั่ง พม่า ลาว โปรแกรมค้นหาจะชาญฉลาดจัดทำดัชนีเหล่านี้ได้หมดหรือ? เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าคิด
       โดยเฉพาะเรื่องภาษาไทย ที่เอกสารเขียนติดกัน คำหลักที่ใช้ค้นหาเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องศึกษาวิจัย เชื่อแน่ว่าโปรแกรมหุ่นยนต์ของฝรั่งที่พัฒนาขึ้นก็ยากที่จะเข้าใจภาษาไทยได้ดี
             เมื่อเป็นเช่นนี้ทีมงานภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ดำเนินการทำการวิจัยและพัฒนาสร้าง Nontri Search ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อคนไทยและจะทำให้รู้ใจคนไทยได้มากยิ่งขึ้น
การทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวโปรแกรมหุ่นยนต์ ที่จะเสาะแสวงหาที่อยู่ของเว็บเพ็จต่าง ๆ ปัจจุบันเน้นเฉพาะเว็บเพ็จที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก โดยศึกษาวิเคราะห์จากโครงสร้างไอพีแอดเดรสและข้อมูลจากเนมเซิร์ฟเวอร์ ที่มีการจดทะเบียนใช้งานในเมืองไทย หุ่นยนต์จะลองทำการวิ่งเข้าหาเครื่องแต่ละเครื่องเพื่อคัดลอกข้อมูลมา จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำดัชนีค้นหาไว้
            สิ่งที่ Nontri Search ทำได้ในขณะนี้คือ จะวิ่งค้นหาเป็นรอบ ๆ เพื่อปรับปรุงข้อมูลและดูว่าข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพื่อปรับปรุงดัชนีให้ทันสมัย แทบไม่น่าเชื่อว่า ปัจจุบันภายในประเทศไทย มีข้อมูลเกือบหกแสนหน้า (ยูอาร์แอล) การจัดทำดัชนีจะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งปัจจุบันในเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่เครื่องหนึ่งรองรับฐานข้อมูลนี้
การจัดทำดัชนีและจุดอ้างอิงยูอาร์แอล เมื่อผู้ใช้เรียกถาม Nontri Search ก็จะเรียกค้นจากฐานข้อมูลแล้วนำมาแสดงให้ การจัดทำดัชนีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะมีเรื่องราวที่จะต้องปรับแต่งและวิจัยหาความเหมาะสมได้อีกมาก
การพัฒนาระบบค้นหาข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับอนาคต เพราะลองนึกดูว่า ถ้าเต้ องการให้ค้นหาข้อมูลทั้งหมดในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีกว่าพันล้านยูอาร์แอล มีความจุกว่า 14 เทราไบต์ ระบบการค้นหาและทำดัชนีจะเป็นระบบที่ซับซ้อนพอดู เพราะต้องให้บริการได้เร็ว  งานวิจัย Nontri Search จึงเป็นผลงานที่ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำขึ้นเพื่อประชาคมอินเทอร์เน็ตที่เป็นคนไทย งานพัฒนานี้จะต้องกระทำต่อไป
ที่มา:http://www.ku.ac.th/magazine_online/search_engine.html




เทคนิคและการใช้โปรแกรมเบาวเซอร์ค้นหาข้อมูล

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้ Search Engine
  1. อย่าค้นหาด้วย Search Engine เดียวเพราะว่าไม่มี Search Engine ใดที่จะมีฐานข้อมูลของทุกเว็บไซต์ทั่วโลก ดังนั้นถ้าค้นไม่เจอข้อมูลที่ต้องการให้ลองไปค้นหาที่ Search Engine อื่น [1]
  2. อ่านวิธีการค้นหา เพราะว่า Search Engine แต่ละตัวจะมีวิธีการค้นหาไม่เหมือนกันยิ่งเป็นการค้นหาแบบเฉพาะทางหรือแบบที่มีคำสั่งพิเศษด้วยแล้ว ถ้าสามารถอ่านวิธีการค้นหาได้ก็จะสามารถช่วยค้นหาได้เร็วขึ้นและได้ผลตามประสงค์ [1]
  3. ค้นหาด้วยคำเฉพาะ เพราะยิ่งใช้คำเฉพาะสำหรับค้นหาเท่าไร ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะตรงตามเป้าหมายเท่านั้น เช่น แทนที่จะค้นเว็บไซต์สุนัขด้วยคำว่า dog ก็ให้ใส่พันธุ์ของสุนัขที่ต้องการลงไปด้วยอย่าง puddle dog หรือ boxer dog จะทำให้สามารถค้นหาได้ง่ายกว่า [1]
  4. ใช้คำทั่ว ๆ ไปค้นหา ถ้าค้นหาด้วยคำเฉพาะแล้วไม่มีผลการค้นหา เพราะคำเฉพาะบางคำที่เฉพาะเกินไปอาจจะไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลก็ได้ [1]
  5. ใช้คำสั่ง Boolean ช่วยในการค้นหาถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์ด้วยการใช้คำหลาย ๆ คำผสมกันไป หรือเมื่อไม่ต้องการให้คำใดเข้ามาเกี่ยวข้องในการค้นหาก็สามารถกำหนดได้เช่นกัน [1]
  6. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "AND"
    รูปแบบการใช้งาน : A and B โดย A , B เป็น คำหลัก (Keywords)
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "and" ก็ต่อเมื่อ ต้องการให้ปรากฏคำหลัก A และ B ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน หมายถึง การค้นหาคำหลักที่มีทั้ง A และ B
    Example 1: พิมพ์ ไทย and จีน ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข จะหมายถึง ค้นหาคำว่า ไทย และ จีน โดยผลลัพธ์จากการค้นหา จะปรากฏคำว่า "ไทย" และ "จีน" อยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
  7. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "OR"
    รูปแบบการใช้งาน : A or B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "or" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหาคำหลัก A หรือ B โดยผลลัพธ์จากการค้นหาจะต้องปรากฏคำหลัก A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ
    Example 2: พิมพ์ กีฬา or ดนตรี ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข Super Search จะค้นหาข้อมูลที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" หรือ "ดนตรี" ในหน้าเว็บเพจ
  8. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NOT"
    รูปแบบการใช้งาน : A not B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "not" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหา A แต่ไม่ต้องการให้ปรากฏ B อยู่ในหน้าเว็บเพจ
    Example 3: พิมพ์ กีฬา not ฟุตบอล จะหมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "ฟุตบอล"
  9. การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NEAR"
    รูปแบบการใช้งาน : A near B
    อธิบาย : หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องปรากฏทั้ง A และ B และทั้งสองคำนี้จะต้องปรากฏอยู่ใกล้ๆกัน รูปแบบการค้นหาแบบนี้จะคล้ายกับการใช้เงื่อนไข "AND" แต่ต่างกันเพียง คำทั้งสองจะต้องปรากฏอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 คำ ซึ่งเราจะเห็นว่าการใช้เงื่อนไข NEAR จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้เงื่อนไข "AND" ในกรณีที่คำทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกัน โดยคาดหวังว่าคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น
  10. การค้นหาโดยใช้เครื่องหมายวงเล็บ "(   )"
    รูปแบบการใช้งาน : (A * B) โดย A และ B เป็นคำที่ต้องการค้นหา และ สัญญลักษณ์ * แทนเงื่อนไข and , or ,not และ near
    อธิบาย : การใช้เครื่องหมายวงเล็บคร่อมข้อความที่เป็นเงื่อนไข หมายถึง การเจาะจงให้ประมวลผลข้อความที่อยู่ภายในวงเล็บก่อน
    Example 5: พิมพ์ (การเมือง or เศรษฐกิจ) near รัฐสภา หมายถึง การสั่งให้ค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "การเมือง" หรือ "เศรษฐกิจ" และ จะต้องปรากฏอยู่ใกล้เคียงกับคำว่า "รัฐสภา" ด้วย
     
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเครื่องจักรค้นหา Search Engine ได้แก่ 
1.      www.altavista.com เครื่องจักรค้นหายอดนิยม อันดับต้น ๆ
2.  www.infoseek.com เว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลที่มีรายละเอียดของเว็บต่าง ๆ ถึง 30ล้านเว็บไซต์
3. www.Excite.com การหาข้อมูลข้อความที่หาความสัมพันธ์กับกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4.  www.lycos.com เครื่องจักรค้นหาที่ได้รับความนิยมเท่ากับ yahoo.com
5. www.hotbot.com เว็บไซต์ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่
6.  www.thaiseek.com เครื่องจักรค้นหาและรวมไดเร็คทรอรี่ของไทย
7.  www.madoo.com/search/ เว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์ที่เป็น Search engine เอาไว้
 8. www.siamguru.com เว็บไซต์ใหม่ที่กำลังมาแรง ในการค้นหาแบบ เครื่องจักรค้นห
 9. www.asialycos.co.th เว็บไซต์เครื่องจักรค้นหา ที่ทำเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ
 10.  http://www.msn.com  เว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์ที่เป็น Search engine เอาไว้

ความหมายและประเภทของเครื่องจักร

ความหมายของ Search Engine
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
    เครื่องจักรค้นหา  (Search Engine) คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search  Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา Search Engine โดยทั่วไปมี 3 ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และการจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกัน เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกัน ทำให้โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน

                 ประเภทของ Search Engine         
                1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึง อ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษาคำสั่งในการสร้างเว็บเพจ (ภาษา HTML) หรือเรียก TAG ซึ่งอยู่ในรูปแบบ และข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้ จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางทางกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ไม่เลว 
               2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล ของการ Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการ พินิจวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้ จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคน ว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร
                  ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูก จัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ เด็ก Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับเด็กล้วน ๆ มาให้คุณ
               3. Metasearch Engines จุดเด่นของการ Search Engine ด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่น ๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การ search ด้วยวิธีนี้ มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะ ไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language ( ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

แหล่งที่มา  
      http://dekhongone.spaces.live.com
     http://raktukkonnaka.spaces.live.com     
     http://cidb3902f3223123aa7.spaces.live.com



              

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อดีและข้อจำกัด,การประยุกต์ใช้และชื่อ,หมายเลขในเครือข่าย

             อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสารสนเทศ เปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลก ซึ่งรวมคนทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน จึงทำให้มีบริการต่างๆ เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งข้อดีที่เป็นประโยชน์และข้อจำกัดบางประการ   ดังนี้
ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย   ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้
  1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
  2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
  3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
  4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
  5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
  6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
  7. ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
  8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  
  9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
  10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน
ข้อจำกัดของอินเทอร์เน็ต
ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย   แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ   ดังต่อไปนี้
  1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
  2. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม

    แหล่งที่มา :  http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page24.htm

                                                               
    การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
    ข้อมูลและบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากมายและหลายหลากประเภท ทำให้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับงานในด้านต่างๆ มากมาย จึงขอยก ตัวอย่างการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตพอสังเขป ดังนี้
    ด้านการศึกษา
    อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว มีแหล่งข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาลที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และอื่นๆ ทำให้นักเรียน ครูอาจารย์ รวมถึงผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า หรือการทำงานได้  ในส่วนระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้อินเทอร์เน็ต ก็ทำให้ผู้เรียนหรือผู้สอนที่อยู่ห่างไกลกัน ไม่จำเป็นต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสถานที่เดียวกัน ผู้สอนและผู้เรียน สามารถอยู่คนละสถานที่ ก็ยังสามารถทำการเรียนการสอนได้  เช่น  การเรียนการสอนผ่านเวบ หรือ E-Learning เป็นอีกหนึ่งกระแสของการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังมาแรงในปัจจุบันนี้, ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ได้รับความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา มีเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ มากมายสำหรับนักเรียนและอาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน
    <!--[if !supportLists]-->1.       <!--[endif]-->ธุรกิจการค้า
    ปัจจุบันมีการให้บริการ โฆษณาสินค้าบริการและการซื้อขายสินค้าบริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า E-Commerce ซึ่งระบบนี้ผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ แล้วทำการสั่งซื้อ พร้อมทั้งชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยหักจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตได้ทันที นอกจากนี้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ก็สามารถเปิดให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และประกาศข่าวสารใหม่ๆ หรือกรณีที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ก็อาจแจกจ่ายโปรแกรมให้ทดลองใช้ หรือให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ (patch) แม้กระทั่งซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้โดยตรงอีกด้วย
    <!--[if !supportLists]-->2.       <!--[endif]-->การเงินการธนาคาร
    ธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) หมายถึง ธนาคารที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบางธนาคารก็มีบริการที่มีชื่อคล้ายคลึงกันแต่ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Banking หรือ E-Banking ซึ่งหมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยสื่อที่นิยมใช้ได้แก่อินเทอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าบริการทั้งสองรูปแบบต่างก็มีการให้บริการต่างๆ ของธนาคารที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบยอดบัญชี การโอนเงิน การสั่งชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
    สำหรับการระบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการแบบออนไลน์ ก็อีกบริการซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแส ความแรงของการทำ E-Commerce ทั่วโลก ที่มีความต้องการองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือ อันได้แก่ธนาคาร เข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการชำระเงินแบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ด้วยระบบนี้ทำให้ลูกค้าเกิดความสะดวกและรวดเร็วในการใช้บริการเป็นอย่างมาก
    <!--[if !supportLists]-->3.       <!--[endif]-->ความบันเทิง
    สิ่งที่ดึงดูดใจแก่ผู้งานอินเทอร์เน็ตทุกเพศ ทุกวัย มากที่สุด ก็คือ ความสาระบันเทิงที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การอ่านข่าวสารจากวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมตัวอย่างภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้อีกด้วย การค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการต่างๆ ก็ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้เช่นกัน รวมทั้งการสนทนาพูดคุยระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางเวบบอร์ดต่างๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]-->

    แหล่งที่มา :  http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1460805

    ชื่อและหมายเลขประจำเครื่องในเครือข่าย  
              IP Address  คือ หมาย เลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น             กำหนดให้ IP address (เป็นหมายเลข 3 หลัก 4 กลุ่ม) มีทั้งหมด 32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ระบบหมายเลขประจำเครื่องมีข้อบกพร่อง คือ จำยากและไม่ได้สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ทราบ ดังนั้น จึงมีการใช้ระบบชื่อของเครื่อง (Domain Name System : DNS) ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนหมายเลข IP Address มาเป็นชื่อที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจกัน   เช่น   Moe.go.th  /  udru.ac.th  /  microsoft.com
              Domain Name System : DNS  การเชื่อมต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ในระบบ internet นั้นใช้มาตรฐาน TCP/ IP ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน ซึ่งใช้ เวลาติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยจะอ้างถึงหมายเลขประจำตัวเครื่องปลายทางที่เราติดต่อได้ทันที โดยปกติเครื่อง Web Server จะมี IP Address ทั้งนี้เกิดปัญหาในการจำ เพราะว่า IP Address มีตัวเลขถึง 12 ตัว จากจุดนี้เลยได้มีการคิดที่จะแปลง IP Address ให้เป็นชื่อที่จำได้ง่าย Domain Name System จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อใช้ชื่อแทนที่หมายเลข IP ฉะนั้น DNS คือระบบการแปลงค่าระหว่าง IP Address และชื่อเครื่อง(Host) เช่น IP Address "172.5.0.1" เรียกเป็น "www.udru.ac.th" (เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี)
              การกำหนดชื่อใน DNS จะเรียงลำดับความสำคัญจากขวาไปซ้าย โดยมีจุดคั่น เช่น Udru.ac.th จะอ่านได้ว่า th มาจากประเทศไทย, ac หน่วยงานการศึกษา, udru ชื่อหน่วยงานในที่นี้คือ มรภ.อุดรธานี
    รูปแบบชื่อโดเมน มี 3 รูปแบบใหญ่ ๆ
              1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain ชื่อทางด้านขวาสุดแบ่งย่อยเป็น 2 รูปแบบ คือ        
                - รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains : gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันโดยเฉพาะในอเมริกาซึ่งลงท้ายด้วย .com .net .org .biz .info เป็นต้น
               - รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ(Country Code top Level Domains : ccTLDs) บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมนหรือที่ตั้งโดเมนมักใช้กับประเทศอื่นยกเว้นอเมริกา เช่น .th ประเทศไทย, .jp ประเทศญี่ปุ่น, .uk ประเทศอังกฤษ เป็นต้น
    .au = Australia  .
    sg = Singapore
    .th = Thailand
    .tw = Taiwan
    .uk = United Kingdom
    .jp = Japan
              2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็นชื่อถัดมาลำดับที่ 2 จะเป็นลักษณะการดำเนินงานขององค์กร แบ่งเป็น 2 ส่วน
              -     ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรในประเทศไทย เช่น
    .co = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
    .ac = Academic หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
    .go = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
    .or = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
    .mi = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
    .net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร
    .in = Individual เว็บไซต์ส่วนบุคคล
              -      ลักษณะการดำเนินงานขององค์กร ยกเว้นประเทศไทย เช่น
    .com = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
    .edu = Education หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
    .gov = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
    .org = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
    .mil = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
    .net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร
              3.  โดเมนขั้นที่สาม - Third Level Domain เป็นลำดับที่ 3 นับจากด้านขวามือ เป็นชื่อที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถจดจำได้เช่น
    udru = มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
    Microsoft = บริษัทไมโครซอฟต์
    moe = กระทรวงศึกษาธิการ

    แหล่งที่มา  :  http://fws.cc/chokajub/index.php?topic=904.0

การเชื่อมต่อเครือข่าย,เวิลด์ไวด์เว็บ,เว็บเบราว์เซอร์

การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
             การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
  • การเชื่อมต่อแบบบุคคลเป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบDialUpโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account
  • การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่
    ระบบ อินเตอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และสายสัญญาณเช่า(ตลอด 24 ชม.)
อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต            
          1.  คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป

           2. โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง(Impulse)ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อกซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
         -  โมเด็มแบบติดตั้งภายในโมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์์โดยตรงรูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะ
ออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล็อตบนเมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอกส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องportอนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทางslotมาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆเลยและโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์์ธรรมดาแบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย

           -  โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจรและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C

           -  PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุดคือมีขนาดเท่าบัตรเครดิตและหนาเพียง5มิลลิเมตรเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด     
3.  คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม
4.  บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)
 (1.) ลักษณะการเชื่อมต่อแบบบุคคล
                การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน(User)หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกันสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อกผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่งตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง
                สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเพื่อตรวจ
สอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องก็จะได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์ รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซทาง WWW ได้ทันที
(2.) การเชื่อมต่อแบบองค์กร                
              จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ(Server)ด้านต่างๆและมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
  1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server)ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ
    หน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร
  2. ดิจิตอลโมเด็ม(NTU)และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง(Router)คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
    ดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อ ด้วยหมายเลขIP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ
  3. คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ
  4. สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet1509ซึ่งจะกำหนดหมายเลขIPAddressของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำหรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย
แหล่งที่มา http://www.internet.combrpoly.net/Article_5.html


เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
              เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะ
สามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี
กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่าง
ภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)
ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่าย
ที่ทำไว้
           เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลก
เปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยม
มากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมี
ข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วย
การเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติม
พร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็น
เครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ต
            กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
ในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบ
เว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape
Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วย
ให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ
          ปี พ.ศ.2533 นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
แห่งยุโรป ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบ
การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้
ทำให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ในการส่งสาร
สนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) ซึ่งการ
สื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วใน
ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และเสียง (จิตเกษม พัฒนาศิริ, 2540)
             จากการวิจัยดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและสร้างสรรค์รูปแบบเพื่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยง ทำให้เวิลด์ไวด์เว็บกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้การติดต่อสื่อสาร
และการนำเสนอผ่านเครือข่ายทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้วในขณะนี้
เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ

            เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเว็บ เนื่องจากเมื่อเข้าไปในเว็บแล้ว
สารสนเทศหรือข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการสืบค้นก็คือหน้าของเอกสารที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งรายละเอียด
ของแต่ละส่วนมีดังนี้

           ปิยวิท เจนกิจจาไพบูลย์ (2540) ได้กล่าวว่า เว็บไซต์ ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่มีเว็บเพจเป็น
ของตัวเองบนระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้จากการลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเช่าพื้นที่บนระบบอินเทอร์เน็ต
เมื่อลงทะเบียนในชื่อที่ต้องการแล้ว ก็สามารถจัดทำเว็บเพจและส่งให้ศูนย์บริการนำขึ้นไปไว้บนอินเทอร์เน็ต
ซึ่งถือว่ามีเว็บไซต์เป็นของตนเองแล้ว และเว็บไซต์ก็คือแหล่งที่รวบรวมเว็บเพจจำนวนมากมายหลายหน้า
ในเรื่องเดียวกันมารวมอยู่ด้วยกัน แต่สิ่งหนึ่งในการเสนอเรื่องราวที่อยู่บนเว็บไซต์ที่แตกต่างไปจากโปรแกรม
โทรทัศน์ เนื้อหาในนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ เนื่องจากการทำงานบนเว็บจะไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งนี้เนื่องจากเรา
สามารถเปลี่ยนแปลงและเพิ่มสารสนเทศบนเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา และแต่ละเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยง
กันภายในเว็บไซต์หรือไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้ในเวลาอันรวดเร็ว (กิดานันท์ มลิทอง,
2542)
           นิรุธ อำนวยศิลป์ (2542) กล่าวถึงเว็บไซต์ว่า เป็นชื่อเรียก Host หรือ Server ที่ได้จดทะเบียนอยู่ใน
เวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งก็คือชื่อชื่อ Host ที่ถูกกำหนดให้มีชื่อในเวิลด์ไวด์เว็บ และขึ้นต้นด้วย http และมีโดเมน
หรือนามสกุลเป็น .com, .net, .org หรืออื่นๆ
เว็บเพจ (Web page)
           สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (2540) ได้ให้ความหมายของเว็บเพจไว้ดังนี้ เว็บเพจ คือหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
บนเว็บ ที่เจ้าของเว็บเพจ ต้องการจะใส่ลงไปในหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น ข้อมูลแนะนำตัวเอง
ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการให้ผู้อื่นได้ทราบ หรือข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นต้น โดยที่ข้อมูลที่แสดง
เป็นได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวและข้อมูลที่นำเสนอสามารถเชื่อมโยงในรูปของ
ไฮเพอร์เท็กซ์ คือ เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นที่จะให้ข้อมูลนั้นๆ ในระดับลึกลงไปได้เรื่อยๆและเว็บเพจจะ
ต้องมีที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเฉพาะของตน ซึ่งแหล่งที่อยู่นี้เรียกว่า
แหล่งที่มา     http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1113

เว็บเบราว์เซอร์
                (อังกฤษ: web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
              เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ [1] ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์
ประวัติ
                ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี จากศูนย์วิจัยเซิร์น ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมค้นดูเว็บตัวแรกมีชื่อว่า เวิลด์ไวด์เว็บ แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจังเมื่อ ศูนย์วิจัยเอ็นซีเอสเอ (NCSA) ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม โมเสก (MOSAIC) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นดูเว็บเชิงกราฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสกก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป
มาตรฐาน
             โปรแกรมค้นดูเว็บเชื่อมโยงกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านมาตรฐานหรือโพรโทคอลการรับส่งข้อมูลแบบ เอชทีทีพี ในการส่งหน้าเว็บ หรือเว็บเพจ ปัจจุบันเอชทีทีพีรุ่นล่าสุดคือ 1.1 ซึ่งสนับสนุนโดยโปรแกรมค้นดูเว็บทั่วไป ยกเว้นอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ที่ยังสนับสนุนไม่เต็มที่
ที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่ายูอาร์แอล หรือยูอาร์ไอ ซึ่งรูปแบบมักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า http://สำหรับการติดต่อแบบเอชทีทีพี โปรแกรมค้นดูเว็บส่วนมากสนับสนุนการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นนอกจากนี้ เช่น ftp:// สำหรับเอฟทีพี (FTP) https:// สำหรับเอชทีทีพีแบบสนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น

แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki


การบริการบนอินเทอร์เน็ต,มารยาทและการให้โทษของอินเทอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต

        บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้

        1.บริการด้านการสื่อสาร
        1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)

        ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com

        โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)

        1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)
        mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)

        1.3 กระดานข่าว (usenet)
        ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น

        การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ

        เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น

        1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)
        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

        1.5 เทลเน็ต (telnet)
        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป


        2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
        2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)
        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)

        ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี

        ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม

        2.2 โกเฟอร์ (gopher)
        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3 อาร์ซี (archie)
        อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป

        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)
        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย

        2.5 veronica
        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom


·       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
·       ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
·       ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
·       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
·       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
·       ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
·       ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
·       ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
·       ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

โทษของอินเทอร์เน็ต

โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฎหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
·       อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
·       มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
·       ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
·       เติบโตเร็วเกินไป
·       ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่
·       ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
·       ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
·       ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้


แหล่งที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b5011172/Page_5.html